วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

Diary No. 3 Monday, September 7, 2558


Diary No. 3

Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood

Instructor trin jamthin

Monday, September 7, 2558

Time 08.30 - 12.30 .



( อ้างอิงมาจากบล็อคของ นางสาวปาริฉัตร ภู่เงิน เนื่องจาก ลากิจ )



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
  • การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ปฐมวัย
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ )

  • การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ปฐมวัย
ความคิดสร้างสรรค์ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้

แต่สามารถส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้

  • แนวคิดทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์ 

* เเนวคิดทฤษฎีโครงสร้างทางปัญญาของ Guilford ได้กล่าวว่ามี 3 มิติ คือ 
  1.  มิติเนื้อหา (ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด) ได้เเก่ ภาพ สัญลักษณ์ ภาษา พฤติกรรม 
  2.  มิติวิธีคิด (กระบวนการทำงานของสมอง)ได้แก่ การรู้และเข้าใจ การจำ การคิดเเบบอเนกนัย การคิดแบบเอกนัย การประเมินค่า
  3.  มิติผลของการคิด (การตอบสนองต่อข้อมูล หรือสิ่งเร้า )ผลของการคิด ได้เเก่ หน่วย ระบบ จำพวก การแปลงรุป ความสัมพันธ์ การประยุกต์
*ทฤษฎี Constructivism
เด็กเรียนรู้เอง เด็กคิดเอง ครูกับเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน สร้างองค์ควาทรู้ใหม่ด้วยตนเอง 

*ทฤษฎีของ Torrance
ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกต่อปัญหา เเล้วรวบรวบความคิดตั้งเป็นสมมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้จากการทดสอบ


ขั้นที่ 1 การพบความจริง 
ขั้นที่2 การค้นพบปัญหา 
ขั้นที่3 การตั้งสมมุติฐาน 
ขั้นที่4 การค้นพบคำตอบ


  • บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 
               เด็กปลอดภัย ให้เด็กได้เล่นคนเดียว ขจัดอุปสรรค.
  • ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ 
มีไหวพริบ อารมณ์ขัน มีสมาธิ รักอิสระ 
  • กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เเบ่งเป็น 3 ลักษณะ
1. ลักษณะที่ 1 ความไม่สมบูรณ์ การเปิดกว้าง
 2. ลักษณะที่ 2 การสร้างบางอย่างขึ้นมา 
3. ลักษณะที่3 การใช้คำถามเด็ก
  • คำถามที่ส่งเสริมความคิดคล่องแคล่ว
  1. คิดให้ได้มากที่สุด
  2. คิดหรือทำสิ่งที่ไม่เคยมีใครคิดหรือทำมาก่อน
  3. ได้คำตอบที่หลากหลาย
  4. คิดให้เห็นรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ

  • เเนวทางการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของ Torrance
ส่งเสริมให้เด็กถาม เอาใจใส่ความคิดเด็ก ยอมรับคำถามของเด็ก   ชี้เเนะให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง


  • การตั้งคำถาม 5W1H

Who ใคร คือ สิ่งที่เด็กต้องรู้ว่า ใครรับผิดชอบ ใครเกี่ยวข้อง ใครได้รับผลกระทบ ในเรื่องนั้นมีใครบ้าง
What ทำอะไร คือ สิ่งที่
เด็กต้องรู้ว่า เราจะทำอะไร แต่ละคนทำอะไรบ้าง
Where ที่ไหน คือ สิ่งที่
เด็กต้องรู้ว่า สถานที่ที่เราจะทำว่าจะทำที่ไหน เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นอยู่ที่ไหน
When เมื่อไหร่ คือ สิ่งที่
เด็กต้องรู้ว่า ระยะเวลาที่จะทำจนถึงสิ้นสุด เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเมื่อวัน เดือน ปี ใด
Why ทำไม คือ สิ่งที่
เด็กต้องรู้ว่า สิ่งที่เราจะทำนั้น ทำด้วยเหตุผลใด เหตุใดจึงได้ทำสิ่งนั้น หรือเกิดเหตุการณ์นั้นๆ
How อย่างไร คือ สิ่งที่
เด็กต้องรู้ว่า เราจะสามารถทำทุกอย่างให้บรรลุผลได้อย่างไร เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำอย่างไรบ้าง


  • กิจกรรม
1.กิจกรรมระหว่างเรียน คุณครูให้ทำกิจกรรมไร่สตอเบอรี่โดยเป็นคำถามเชิงจิตวิทยาเพื่อให้นักศึกษารู้ความเป็นตัวตนภายในตนเอง เพื่อให้เป็นการให้นักศึกษาตื่นตัวในการเรียน

2.กิจกรรมศิลปะจากธรรมชาติ   ให้นักศึกษาวาดภาพจากสีที่ได้จากธรรมชาติ โดยนำเศษวัสดุที่เอาสีจากดอกไม้มาวาดรูปภาพตามจินตนาการเเล้วออกมาบรรยายภาพว่าได้ภาพนี้ได้สีธรรมชาติจากสิ่งที่นำมามีเป็นอะไรบ้างโดยตัวหลักของผลงานนี้คือ การเอาดินมาผสมน้ำให้เกิดเป็นภาพวาด



                                         
3.ร้องเพลงและทบทวนเพลง

  1. london Bridge is falling down




Skill (ทักษะที่ได้รับ) 
  • ได้ร่วมการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามจากคุณครูร่วมกับผู้อื่น
Adoption( การนำไปใช้)
  • ใช้ในการบูรณาการการเรียนรู้ของเด็กชั้นปฐมวัยได้การสร้างศิลปะให้เด็กได้ใช้ความคิดในการสร้างสรรค์ศิลปะโดยนำสิ่งธรรมชาติสร้างเป็นภาพวาดที่สวยงามตามจินตนาการ
classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
  • เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการตั้งใจฟังคุณครูดีมาก บรรยากาศค่อนข้างเย็น
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
  • พลาดข้อมูลและกิจกรรมที่สำคัญ เนื่องจากลากิจ
friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
  • เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถามทุกคนและสนุกกับการทำกิจกรรม
Teacher-Assessment (ประเมินอาจารย์)
  • เเต่งกายสุภาพเรียบร้อยสอนเข้าใจ มาก่อนเวลาสอน สอนน่ารัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น