วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 6 Monday, October 19, 2558


Diary No. 6

Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood
Instructor trin jamthin
Monday, October 19, 2558 
Time 08.30 - 12.30 .


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

  • ความคิดสร้างสรรค์กับเสียง
  • คำคล้องจองปริศนาคำทาย
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
*กิจกรรม
  • กิจกรรมทายเสียง โดยให้นักศึกษาทายเสียงต่างๆดังต่อไปนี้
*เสียงสัตว์  
  1. สุนัข
  2. แมว
  3. หมู
  4. วัว
  5. ไก่โต้ง
  6. ม้า
  7. แม่ไก่
  8. แพะ
  9. เป็ด
  10. ลา
  11. ลูกเจี๊ยบ
*เสียงเครื่องดนตรี
  1. ไวโอลิน
  2. แซกโซโฟน
  3. ฮาร์โมนิการ์
  4. ฉาบ
  5. ทรอมโบน
  6. กีตาร์
  7. ออร์แกน
  8. เปียโน
  9. ทรัมเป็ด
  10. ฟรุต
  11. ระนาดเหล็ก
  12. แตร
  13. กลองชุด
  14. เซลโล
  15. ปี่สก็อต

*ในการส่งเสริมความคิดสร้างสรค์ในกิจกรรมทายเสียงนี้ เราสามารถใช้คำถามที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ดังนี้

  1. เด็กๆคิดว่าเสียงที่ได้ยินเป็นเสียงอะไรเอ่ย
  2. เสียงที่ได้ยินนั้น จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไรนะ
สรุป กิจกรรมทายเสียง เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเพราะเด็กจะต้องฟังเสียงและจินตนาการสิ่งที่ได้ยิน ว่าเป็นเสียงของอะไร  และต้องอธิบายสิ่งที่ตนเองคิดหรือจินตนาการให้ผู้อื่นได้รับรู้  นอกจากนี้ประสบการณ์ของเด็กไม่เหมือนกันจึงทำให้เสียงที่เด็กได้ยินเหมือนกันแต่จินตนาการต่างกันได้



  • กิจกรรมเสียงกระซิบ กิจกรรมนี้จะให้กระซิบเพื่อส่งสารไปยังจุดหมาย โดยมีรูปแบบการส่งสารที่ต่างกันในแต่ละรอบ 
รอบที่  1 ส่งสารทุกคน  โดยจะนั่งเป็นครึ่งวงกลมและส่งสารโดยเล่นทั้งห้อง  
                                      

รอบที่ 2 แบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม และส่งตัวแทนจับสลากสารที่ต้องส่ง โดยให้หัวแถวเป็นตัวแทนจับฉลากและส่งสารไปยังท้ายแถว

รอบที่ 3  ใช้กลุ่มเดิมจากรอบที่ 2 แต่ให้ท้ายแถวเป็นผู้จับสลากและส่งสารที่ได้รับมายังหัวแถว

รอบที่ 4  ใช้กลุ่มเดิมจากรอบที่ 2 แต่ให้ใครก็ได้ที่อยู่กลางแถวไปอยู่หัวแถวแล้วจับสลากเพื่อทำการส่งสารในรอบสุดท้าย


สรุป กิจกรรมเสียงกระซิบเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้มีการส่งสารที่ได้รับมาแล้วส่วสารต่อไปยังบุคคลอื่นๆทำให้เด็ก ฝึกในเรื่องทักษะการฟัง   การมีสมาธิ (เพื่อที่จะสามารส่งสารต่อได้อย่างถูกต้อง) ทักษะการสื่อสาร และทักษะการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
  • กิจกรรมแต่งคำคล้องจอง *อะไรเอ่ย*
ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 4  กลุ่ม และแต่งคำคล้องจอง จากเพลงอะไรเอ่ย
ผลงานกลุ่มดิฉัน

อะไรเอ่ยอยู่ในน้ำใส                         ว่ายเวียนว่องไวในสายธารา
มีครีบ มีเหงือก มีหางและตา (ซ้ำ)    อยากจะรู้ว่า เอ๊ะ!ตัวอะไร

อะไรเอ่ยชอบกินใบไผ่                     รูปร่างตัวใหญ่มาจากเมืองจีน
ซุกซนและชอบป่ายปีน (ซ้ำ)            มีชื่อ หลินปิง เอ๊ะ!ตัวอะไร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพดอกไม้สวยๆ เคลื่อนไหว เครือไม้
ผลงานกลุ่มเพื่อนๆ
อะไรเอ่ยรูปร่างสูงใหญ่                     มันกินใบไม้อยู่ในทุ่งหญ้า
ลำคอสูงยาวสีเหลืองลายตา            ท่าทางสง่ามาลองทายดู

อะไรเอ่ยรูปร่างใหญ่โต                     เขายาวมากโขไถนาก็ได้
มีขาสี่ข้างมีหางแกว่งไกว                 แช่โคลนสุขใจคู่หูชาวนา
                   
                                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพดอกไม้สวยๆ เคลื่อนไหว เครือไม้
ผลงานกลุ่มเพื่อนๆ
อะไรเอ่ยตัวสูงคอยาว                       มีฟันสีขาวขายาวลายจุด
ชอบกินใบไม้บนยอดสูงสุด               พอถึงวันหยุดเด็กชอบไปดู

อะไรเอ่ยเป็นเจ้าแห่งป่า                    เป็นสัตว์สี่ขาเลี้ยงลูกด้วยนม
มีขนแผงคอสวยงามน่าชม                เด็กๆทุกคนมาลองทายดู

                                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพดอกไม้สวยๆ เคลื่อนไหว เครือไม้
ผลงานกลุ่มเพื่อนๆ
อะไรเอ่ยรูปร่างเล็กๆ                       ไม่ถูกสเป็คกับแมวตัวใหญ่
ส่งเสียงจี๊ดจี๊ดมีอยู่ทั่วไป                 สีดำนั้นไซร์ลองทายกันดู

อะไรเอ่ยมีหลายขนาด                     เจ้าหนูชอบพลาดโดนมันจับกิน
เมื่อเห็นปลาทูมันทำหน้าฟิน            เหมียวเหมียวจะกินลองทายดู

สรุป กิจกรรมแต่งคำคล้องจอง *อะไรเอ่ย*  เมื่อเรานำคำคล้องจองไปใช้ประกอบการเรียนการสอนก็จะทำให้การเรียนการสอนสนุกขึ้น เด็กๆได้มีทักษะการฟัง การคิด การตอบคำถาม อีกทั้งเด็กๆยังได้ทักษะด้านภาษาที่มากขึ้นไปด้วย

                                     
Skill (ทักษะที่ได้รับ) 
  • ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ 
  • การทำงานเป็นกลุ่ม 
  • การใช้ภาษาจากการแต่งคำคล้องจอง
Adoption( การนำไปใช้)
  • นำกิจกรรมไปใช้กับเด็กได้ โดยเฉพาะกิจกรรม การทำนายเสียงเพื่อนำด็กเข้าสู่บทเรียน
  • การแต่งคำคล้องจองพื่อให้เด็กตื่นเต้นกับปริศนาคำทายกระตุ้นความคิดของเด็ก
classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
  • อุปกรณ์เทคโนโลยีพร้อมใช้งาน 
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
  • แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียน 
friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
  • ตั้งใจทำกิจกรรมในการทำนายเสียง   เล่นเกมกลุ่มเสียงกระซิบ และแต่งคำคล้องจอง 
Teacher-Assessment (ประเมินอาจารย์) 
  • มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ใช้เทคโนโลยีประกอบการสอนได้ดี ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น