วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 11 Monday, November 30, 2558

Diary No. 11


Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood

Instructor trin jamthin

Monday, November 30, 2558

Time 08.30 - 12.30 .


Story of subject (เนื้อหาที่สอน) 

  • ศิลปะสร้างสรรค์กับการจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)



ศิลปะสร้างสรรค์
การจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
  1.  3 ฐานแรกเป็นกิจกรรมศิลปะพื้นฐาน ที่ให้เด็กๆทำทุกวัน เช่น การพับ การตัดปะ  การระบายสี
  2.  ฐานที่  4 ควรเป็นกิจกรรมที่ครูคิดขึ้นมาใหม่โดยไม่ซ้ำในแต่ละวันให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้
การสอนในฐานที่  4
ขั้นนำ
  • แนะนำอุปกรณ์ว่ามีอะไรบ้าง ได้แก่ สีเทียน รูปตาราง รูปผีเสื้อ กระดาษ
  • สนทนาและบอกเด็กว่าจะทำอะไร โดยมีเงื่อนไข เช่น ให้เด็กวาดรูปในแต่ละช่องให้ครบโดยที่รูปแต่ละรูปไม่ซ้ำกัน
ขั้นสอน
  • ครูบอกหรือสาธิตวิธีการทำให้เด็กดู
  • ให้เด็กลงมือทำด้วยด้วยตนเอง
ขั้นสรุป
  • ให้เด็กนำเสนอผลงานพร้อมโชว์ผลงานของเด็ก
วาดรูปลงในตาราง ทั้ง 9 ช่อง  (ผลงานนักศึกษา)


วาดภาพที่อยู่ในตาราง  9 ช่องลงในแผ่นภาพใหญ่อีกที  ( ผลงานนักศึกษา)

ผลงานเพื่อนๆในเอกการศึกษาปฐมวัย


สรุปกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้เลือกทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ ซึ่งจะทำให้เด็กได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านผลงานที่หลากหลาย 

                                                   กิจกรรมเพิ่มเติม

                           กิจกรรมบริหารสมองเป็น 2 เท่า  คลิก 




                                
Skill (ทักษะที่ได้รับ) 
  • การทำงานศิลปะอย่างสร้างสรรค์
Adoption( การนำไปใช้)
  • จัดกิจกรรมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ ให้เด็กสามารถลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
  • อากาศเย็น  สื่อเทคโนโลยีใช้งานได้ดี
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
  • แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและตอบคำถาม
friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
  • เพื่อนตั้งใจเรียน และตอบคำถามได้ดี
Teacher-Assessment (ประเมินอาจารย์)
  • อาจารย์ให้เทคนิคในการจัดกิจกรรมได้ดี  ทั้งยังมีการยกตัวอย่างกิจกรรมที่เข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตอย่างแน่นอน
  • มีเทคนิคการเสริมแรงให้นักศึกษาตั้งใจเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Diary No. 10 Monday, November 16, 2558



Diary No. 10


Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood

Instructor trin jamthin

Monday, November 16, 2558

Time 08.30 - 12.30 .


Story of subject (เนื้อหาที่สอน) 

  • ศิลปะสร้างสรรค์
  • การจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)



ศิลปะสร้างสรรค์
ความหมาย 
  • เป็นเครื่องมือที่ให้เด็กได้แสดงความรู้สึก ความต้องการ ความคิดผ่านผลงาน เช่น การวาด การปั้น การฉีก การปะ การพับ การตัด การประดิษฐ์
ความสำคัญและประโยชน์ของศิลปะสร้างสรรค์
  • เด็กได้แสดงความรู้สึก ความคิด ความสามารถ
  • ตอบสนองธรรมชาติและความต้องการของเด็ก
  • บำบัดอารมณ์
  • ฝึกทักษะการทำงานของอวัยวะต่างๆ
  • แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเด็ก
พัฒนาการทางศิลปะของTowenfeld and Britain
  • ขั้นขีดเขียน 2-4 ปี  (ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา)
  • ขั้นก่อนมีแบบแผน  4-7 ปี (ภาพมีความสัมพันธ์กับความจริง)
  • ขั้นใช้สัญลักษณ์ 7-9 ปี (คล้ายของจริง)
หลักการจัดประสบการณ์ศิลปะ
  • กระบวณการสำคัญกว่าผลงาน
  • หลีกเลี่ยงการวาดภาพตามแบบ การระบายสีจากสมุดภาพ
  • ชื่นชม
  • เตรียมอุปกรณ์
  • ศิลปะสำคัญเช่นเดียวกับการเขียนอ่าน
  • หลีกเลี่ยงคำถาม กำลังทำอะไร หรือ เดาสิ่งที่เด็กทำ
กิจกรรมศิลปะ
  • กิจกรรมสี
  • การปั้น
  • การตัดปะ
  • การพับ
  • การประดิษฐ์

การจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
  1.  3 ฐานแรกเป็นกิจกรรมศิลปะพื้นฐาน ที่ให้เด็กๆทำทุกวัน เช่น การพับ การตัดปะ  การระบายสี
  2.  ฐานที่  4 ควรเป็นกิจกรรมที่ครูคิดขึ้นมาใหม่โดยไม่ซ้ำในแต่ละวันให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้
การสอนในฐานที่  4
ขั้นนำ
  • แนะนำอุปกรณ์ว่ามีอะไรบ้าง ได้แก่ สีเทียน รูปตาราง รูปผีเสื้อ กระดาษ
  • สนทนาและบอกเด็กว่าจะทำอะไร โดยมีเงื่อนไข เช่น ให้เด็กวาดรูปในแต่ละช่องให้ครบโดยที่รูปแต่ละรูปไม่ซ้ำกัน

ขั้นสอน
  • ครูบอกหรือสาธิตวิธีการทำให้เด็กดู
  • ให้เด็กลงมือทำด้วยด้วยตนเอง
ขั้นสรุป
  • ให้เด็กนำเสนอผลงานพร้อมโชว์ผลงานของเด็ก



กิจกรรม 
1.กิจกรรมร้านขนมหวาน เป็นกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน เกี่ยวกับเรื่องความรักและการที่เราอยากจะดูแลใครสักคน เพื่อสื่อถึงการมอบความรักให้กับผู้อื่น




Skill (ทักษะที่ได้รับ) 
  • การทำงานศิลปะอย่างสร้างสรรค์
Adoption( การนำไปใช้)
  • จัดกิจกรรมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ ให้เด็กสามารถลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
  • อากาศเย็น  สื่อเทคโนโลยีใช้งานได้ดี
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
  • แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและตอบคำถาม
friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
  • เพื่อนตั้งใจเรียน และตอบคำถามได้ดี
Teacher-Assessment (ประเมินอาจารย์)
  • อาจารย์ให้เทคนิคในการจัดกิจกรรมได้ดี  ทั้งยังมีการยกตัวอย่างกิจกรรมที่เข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตอย่างแน่นอน

Diary No. 9 Monday, November 9, 2558




Diary No. 9


Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood

Instructor trin jamthin

Monday, November 9, 2558

Time 08.30 - 12.30 .


Story of subject (เนื้อหาที่สอน) 

  • การสอบเขียนกระดาน
  • การสอนเคลื่อนไหวและจังหวะที่ฝึกความคิดสร้างสรรค์

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

  • เทคนิคการเขียนกระดาน
  1. เอียงตัวโดยหันหน้าเข้าเด็กประมาณ 45 องศา
  2. เขียนปากกาที่มีสีชัดเจนมองเห็นง่าย เน้นคำที่สำคัญในเรื่องที่สอน
  3. ในการสอนควรใช้คำถาม 5W1H ( ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำไม)
  4. เมื่อเขียนเสร็จครูอ่านให้เด็กฟัง พร้อมชี้กระดานด้วย


               

กิจกรรม 
1.สอบเขียนกระดาน
อุปกรณ์ 
  1. ปากกาไวท์บอร์ท (สีน้ำเงิน สีแดง)
  2. กระดาษบรูฟ
เรื่อง วันลอยกระทง

กลุ่มดิฉัน

เรื่อง ผักดีมีประโยชน์

กลุ่มเพื่อนในห้องเรียน

เรื่องโรงเรียนของฉัน
กลุ่มเพื่อนในห้องเรียน

เรื่องกระต่ายของฉัน
กลุ่มเพื่อนในห้องเรียน




2.การสอนเคลื่อนไหวและจังหวะที่ฝึกความคิดสร้างสรรค์

มี 3 ขั้นตอน



  1. การสอนเคลื่อนไหวพื้นฐาน
  2. การสอนเคลื่อนไหวสัมพันธ์
  3. การสอนเคลื่อนไหวผ่อนคลาย
ตัวอย่างการสอน หน่วย อาหาร 



  • การสอนเคลื่อนไหวพื้นฐาน
  •              1.ให้เด็กหาพื้นที่และบริเวณส่วนตัว   
  • การสอนเคลื่อนไหวสัมพันธ์
  •              2.ให้เด็กเดินตามจังหวะแล้วจับกลุ่มสองคนแปลงร่างเป็น ช้อนและส้อม
                 3.ให้เด็กเดินตามจังหวะแล้วจับกลุ่มสี่คนแปลงร่างเป็น ข้าวไข่เจียว
                 4.ให้เด็กเดินตามจังหวะแล้วจับกลุ่มแปดคนแปลงร่างเป็น ชามใส่ก๊วยเตี๋ยว
  • การสอนเคลื่อนไหวผ่อนคลาย

  •              5.ให้เด็กผ่อนคลายร่างกาย

    สรุป   การสอนเคลื่อนไหวเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์นั้นครูสามารถทำได้โดยการฝึกให้เด็กได้แสดงท่าทางหรือการเคลื่อนไหวร่างกายตามความคิดและจินตนาการของเด็ก และการเคลื่อนไหวของเด็กจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะและประสบการณ์ของเด็ก

    Skill (ทักษะที่ได้รับ) 
    • การเขียนกระดานที่ถูกต้อง
    • การฝึกสอนเคลื่อนไหว
    Adoption( การนำไปใช้)


    • เมื่อเรามีการฝึกฝนเขียนกระดานบ่อยๆ ก็จะส่งผลให้เรามีความคล่องแคล่วและชำนาญในการเขียนกระดานมากขึ้น

    classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

    • สนุกสนานและตื่นเต้นไปกับการสอบเขียนกระดาน
    Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
    • แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเขียนกระดาน
    friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
    • เพื่อนให้ความร่วมมือดี  แต่จะมีคุยกันบ้าง
    Teacher-Assessment (ประเมินอาจารย์)
    • ให้แรงเสริมดี ไม่กดดัน ขณะที่สอบ ฝึกให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง


    วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

    Diary No. 8 Monday, November 2, 2558




    Diary No. 8


    Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood

    Instructor trin jamthin

    Monday, November 2, 2558

    Time 08.30 - 12.30 .


    Story of subject (เนื้อหาที่สอน) 

    • การฝึกเขียนกระดาน
    Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

    • การฝึกเขียนกระดานบ่อยๆนั้นมีความสำคัญกับตัวผู้ฝึกเอง เพราะจะเป็นการฝึกฝนตัวเอง การเขียนกระดานนั้นควรจะมีตัวอักษรที่ถูกต้องสวยงามเพราะเด็กๆจะดูลักษณะการเขียนของครู เด็กจะซึมซับบุคลิกลักษณะที่เป็นครู แม้แต่กระทั่งการเขียนกระดานของครู
    กิจกรรม 
    1.ฝึกเขียนกระดาน โดยแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม และสลับกันเขียน 

    • เทคนิค คือ ถ้าครั้งแรกเราเขียนข้างบนสุดของกระดาษ ในครั้งต่อไปเราจะต้องสลับกับเพื่อนให้เพื่อนเขียนข้างบนแทน เพื่อให้เราได้ฝึกเขียนตรงตำแหน่งอื่นๆของกระดาษ
    อุปกรณ์ 
    1. ปากกาไวท์บอร์ท
    2. กระดาษบรูฟ

    สรุป    กิจกรรมฝึกเขียนกระดาน  เป็นการที่ให้นักศึกษาได้ลองเขียนข้อความต่างๆลงบนกระดาษที่เปรียบเสมือนกระดาน  ช่วยให้นักศึกษามีความมั่นใจหรือมีความคล่องแคล่วกับการเขียนกระดานมากขึ้น ซึ่งการเขียนกระดานนั้นนักศึกษาต้องได้ทำอยู่แล้วในอนาคต กิจกรรมนี้จึงเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาได้ดีค่ะ
    2.ร้องเพลงและทบทวนเพลง 
    1. Where is Thumbkin
    2. Twinkle twinkle little star

    Skill (ทักษะที่ได้รับ) 
    • การเขียนกระดานที่ถูกวิธี โดยเฉพาะเรื่องของตัวอักษรที่ถูกต้องสวยงาม
    Adoption( การนำไปใช้)

    • เมื่อเราฝึกฝนบ่อยๆ เราก็จะสามารถเขียนตัวอักษรบนกระดานได้อย่างคล่องแคล่วและถูกต้อง

    classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
    • อากาศเย็น  และสนุกสนานกับการฝึกเขียนกระดาน
    Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
    • แต่งตัวเรียบร้อย และตั้งใจฝึกเขียนกระดาน เพราะยังเขียนได้ไม่สวยงาม
    friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
    • เพื่อนตั้งใจเขียนและเขียนได้สวยงาม ถูกต้อง
    Teacher-Assessment (ประเมินอาจารย์)
    • อาจารย์ให้แรงเสริมกับนักศึกษาให้กำลังใจ และกระตุ้นให้นักศึกษาได้มีความกระตือรือร้นที่จะฝึกเขียนได้ดีมาก ทั้งยังบอกถึงเทคนิคดีๆในการฝึกเขียนกระดาน

    วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

    Diary No. 7 Monday, October 26, 2558



    Diary No. 7
    Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood
    Instructor trin jamthin
    Monday, October 26, 2558
    Time 08.30 - 12.30 .


    Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

    • การสร้างสรรค์ผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ (ออกแบบและประดิษฐ์ไม้ชี้ )

    Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) 

    • สามารถออกแบบและประดิษฐ์ไม้ชี้ ได้ฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ และต้องออกแบบและประดิษฐ์ไม้ชี้ ใหสอดคล้องกับการใช้งาน  
    *กิจกรรม
    •  กิจกรรมออกแบบและประดิษฐ์ไม้ชี้ ใหสอดคล้องกับการใช้งาน
    อุปกรณ์
    1. กระดาษร้อยปอนด์
    2. สีไม้
    3. ก้านไม้ลูกโป่ง
    4. กระดาษสี
    5. ดินสอ
    6. ยางลบ
    7. ปากกาดำ                               
    วิธีทำ
    1. วาดภาพตามใจชอบ
    2. ระบายสีให้สวยงาม
    3. วาดภาพด้านหลังของภาพแรกอีกภาพ
    4. นำกระดาษสีมาตกแต่งกับไม้ลูกโป่ง
    5. นำภาพมาติดกับไม้ลูกโป่ง


    สรุป  กิจกรรมออกแบบและประดิษฐ์ไม้ชี้   ไม้ชี้ถือเป็นตัวช่วยสำคัญของครูเพราะเมื่อเราสอนเราสามารถใช้ไม้ชี้ช่วยในการชี้ตำแหน่งตัวอักษรหรือข้อความที่เรากำลังสอน เพื่อให้เด็กได้เห็นตัวอักษร ฟังภาษาไปพร้อมๆกัน ทำให้เด็กมีการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติไปในตัว และเด็กสามารถเข้าใจและอ่านคำได้เร็ว


    Skill (ทักษะที่ได้รับ)
    • ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์
    • การใช้ศิลปะ
    Adoption( การนำไปใช้)


    • นำกิจกรรมไปใช้กับเด็กได้ โดยเฉพาะกิจกรรม การสร้างสรรค์ผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ ( ออกแบบและประดิษฐ์ไม้ชี้เพื่อให้เด็กได้แสดงความคิดสร้างสรรค์

    classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)


    อุปกรณ์เทคโนโลยีพร้อมใช้งาน


    Self-Assessment (ประเมินตนเอง)


    แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจประดิษฐ์ไม้ชี้


    friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)


    ตั้งใจทำกิจกรรมในการออกแบบและประดิษฐ์ไม้ชี้


    Teacher-Assessment (ประเมินอาจารย์)


    มีกิจกรรมที่น่าสนใจ และคอยช่วยหลือเรื่องอุปกรณ์กับนักศึกษา เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้อย่างดี