วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 7 Monday, October 26, 2558



Diary No. 7
Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood
Instructor trin jamthin
Monday, October 26, 2558
Time 08.30 - 12.30 .


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

  • การสร้างสรรค์ผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ (ออกแบบและประดิษฐ์ไม้ชี้ )

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) 

  • สามารถออกแบบและประดิษฐ์ไม้ชี้ ได้ฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ และต้องออกแบบและประดิษฐ์ไม้ชี้ ใหสอดคล้องกับการใช้งาน  
*กิจกรรม
  •  กิจกรรมออกแบบและประดิษฐ์ไม้ชี้ ใหสอดคล้องกับการใช้งาน
อุปกรณ์
  1. กระดาษร้อยปอนด์
  2. สีไม้
  3. ก้านไม้ลูกโป่ง
  4. กระดาษสี
  5. ดินสอ
  6. ยางลบ
  7. ปากกาดำ                               
วิธีทำ
  1. วาดภาพตามใจชอบ
  2. ระบายสีให้สวยงาม
  3. วาดภาพด้านหลังของภาพแรกอีกภาพ
  4. นำกระดาษสีมาตกแต่งกับไม้ลูกโป่ง
  5. นำภาพมาติดกับไม้ลูกโป่ง


สรุป  กิจกรรมออกแบบและประดิษฐ์ไม้ชี้   ไม้ชี้ถือเป็นตัวช่วยสำคัญของครูเพราะเมื่อเราสอนเราสามารถใช้ไม้ชี้ช่วยในการชี้ตำแหน่งตัวอักษรหรือข้อความที่เรากำลังสอน เพื่อให้เด็กได้เห็นตัวอักษร ฟังภาษาไปพร้อมๆกัน ทำให้เด็กมีการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติไปในตัว และเด็กสามารถเข้าใจและอ่านคำได้เร็ว


Skill (ทักษะที่ได้รับ)
  • ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์
  • การใช้ศิลปะ
Adoption( การนำไปใช้)


  • นำกิจกรรมไปใช้กับเด็กได้ โดยเฉพาะกิจกรรม การสร้างสรรค์ผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ ( ออกแบบและประดิษฐ์ไม้ชี้เพื่อให้เด็กได้แสดงความคิดสร้างสรรค์

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)


อุปกรณ์เทคโนโลยีพร้อมใช้งาน


Self-Assessment (ประเมินตนเอง)


แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจประดิษฐ์ไม้ชี้


friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)


ตั้งใจทำกิจกรรมในการออกแบบและประดิษฐ์ไม้ชี้


Teacher-Assessment (ประเมินอาจารย์)


มีกิจกรรมที่น่าสนใจ และคอยช่วยหลือเรื่องอุปกรณ์กับนักศึกษา เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้อย่างดี



วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 6 Monday, October 19, 2558


Diary No. 6

Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood
Instructor trin jamthin
Monday, October 19, 2558 
Time 08.30 - 12.30 .


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

  • ความคิดสร้างสรรค์กับเสียง
  • คำคล้องจองปริศนาคำทาย
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
*กิจกรรม
  • กิจกรรมทายเสียง โดยให้นักศึกษาทายเสียงต่างๆดังต่อไปนี้
*เสียงสัตว์  
  1. สุนัข
  2. แมว
  3. หมู
  4. วัว
  5. ไก่โต้ง
  6. ม้า
  7. แม่ไก่
  8. แพะ
  9. เป็ด
  10. ลา
  11. ลูกเจี๊ยบ
*เสียงเครื่องดนตรี
  1. ไวโอลิน
  2. แซกโซโฟน
  3. ฮาร์โมนิการ์
  4. ฉาบ
  5. ทรอมโบน
  6. กีตาร์
  7. ออร์แกน
  8. เปียโน
  9. ทรัมเป็ด
  10. ฟรุต
  11. ระนาดเหล็ก
  12. แตร
  13. กลองชุด
  14. เซลโล
  15. ปี่สก็อต

*ในการส่งเสริมความคิดสร้างสรค์ในกิจกรรมทายเสียงนี้ เราสามารถใช้คำถามที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ดังนี้

  1. เด็กๆคิดว่าเสียงที่ได้ยินเป็นเสียงอะไรเอ่ย
  2. เสียงที่ได้ยินนั้น จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไรนะ
สรุป กิจกรรมทายเสียง เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเพราะเด็กจะต้องฟังเสียงและจินตนาการสิ่งที่ได้ยิน ว่าเป็นเสียงของอะไร  และต้องอธิบายสิ่งที่ตนเองคิดหรือจินตนาการให้ผู้อื่นได้รับรู้  นอกจากนี้ประสบการณ์ของเด็กไม่เหมือนกันจึงทำให้เสียงที่เด็กได้ยินเหมือนกันแต่จินตนาการต่างกันได้



  • กิจกรรมเสียงกระซิบ กิจกรรมนี้จะให้กระซิบเพื่อส่งสารไปยังจุดหมาย โดยมีรูปแบบการส่งสารที่ต่างกันในแต่ละรอบ 
รอบที่  1 ส่งสารทุกคน  โดยจะนั่งเป็นครึ่งวงกลมและส่งสารโดยเล่นทั้งห้อง  
                                      

รอบที่ 2 แบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม และส่งตัวแทนจับสลากสารที่ต้องส่ง โดยให้หัวแถวเป็นตัวแทนจับฉลากและส่งสารไปยังท้ายแถว

รอบที่ 3  ใช้กลุ่มเดิมจากรอบที่ 2 แต่ให้ท้ายแถวเป็นผู้จับสลากและส่งสารที่ได้รับมายังหัวแถว

รอบที่ 4  ใช้กลุ่มเดิมจากรอบที่ 2 แต่ให้ใครก็ได้ที่อยู่กลางแถวไปอยู่หัวแถวแล้วจับสลากเพื่อทำการส่งสารในรอบสุดท้าย


สรุป กิจกรรมเสียงกระซิบเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้มีการส่งสารที่ได้รับมาแล้วส่วสารต่อไปยังบุคคลอื่นๆทำให้เด็ก ฝึกในเรื่องทักษะการฟัง   การมีสมาธิ (เพื่อที่จะสามารส่งสารต่อได้อย่างถูกต้อง) ทักษะการสื่อสาร และทักษะการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
  • กิจกรรมแต่งคำคล้องจอง *อะไรเอ่ย*
ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 4  กลุ่ม และแต่งคำคล้องจอง จากเพลงอะไรเอ่ย
ผลงานกลุ่มดิฉัน

อะไรเอ่ยอยู่ในน้ำใส                         ว่ายเวียนว่องไวในสายธารา
มีครีบ มีเหงือก มีหางและตา (ซ้ำ)    อยากจะรู้ว่า เอ๊ะ!ตัวอะไร

อะไรเอ่ยชอบกินใบไผ่                     รูปร่างตัวใหญ่มาจากเมืองจีน
ซุกซนและชอบป่ายปีน (ซ้ำ)            มีชื่อ หลินปิง เอ๊ะ!ตัวอะไร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพดอกไม้สวยๆ เคลื่อนไหว เครือไม้
ผลงานกลุ่มเพื่อนๆ
อะไรเอ่ยรูปร่างสูงใหญ่                     มันกินใบไม้อยู่ในทุ่งหญ้า
ลำคอสูงยาวสีเหลืองลายตา            ท่าทางสง่ามาลองทายดู

อะไรเอ่ยรูปร่างใหญ่โต                     เขายาวมากโขไถนาก็ได้
มีขาสี่ข้างมีหางแกว่งไกว                 แช่โคลนสุขใจคู่หูชาวนา
                   
                                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพดอกไม้สวยๆ เคลื่อนไหว เครือไม้
ผลงานกลุ่มเพื่อนๆ
อะไรเอ่ยตัวสูงคอยาว                       มีฟันสีขาวขายาวลายจุด
ชอบกินใบไม้บนยอดสูงสุด               พอถึงวันหยุดเด็กชอบไปดู

อะไรเอ่ยเป็นเจ้าแห่งป่า                    เป็นสัตว์สี่ขาเลี้ยงลูกด้วยนม
มีขนแผงคอสวยงามน่าชม                เด็กๆทุกคนมาลองทายดู

                                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพดอกไม้สวยๆ เคลื่อนไหว เครือไม้
ผลงานกลุ่มเพื่อนๆ
อะไรเอ่ยรูปร่างเล็กๆ                       ไม่ถูกสเป็คกับแมวตัวใหญ่
ส่งเสียงจี๊ดจี๊ดมีอยู่ทั่วไป                 สีดำนั้นไซร์ลองทายกันดู

อะไรเอ่ยมีหลายขนาด                     เจ้าหนูชอบพลาดโดนมันจับกิน
เมื่อเห็นปลาทูมันทำหน้าฟิน            เหมียวเหมียวจะกินลองทายดู

สรุป กิจกรรมแต่งคำคล้องจอง *อะไรเอ่ย*  เมื่อเรานำคำคล้องจองไปใช้ประกอบการเรียนการสอนก็จะทำให้การเรียนการสอนสนุกขึ้น เด็กๆได้มีทักษะการฟัง การคิด การตอบคำถาม อีกทั้งเด็กๆยังได้ทักษะด้านภาษาที่มากขึ้นไปด้วย

                                     
Skill (ทักษะที่ได้รับ) 
  • ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ 
  • การทำงานเป็นกลุ่ม 
  • การใช้ภาษาจากการแต่งคำคล้องจอง
Adoption( การนำไปใช้)
  • นำกิจกรรมไปใช้กับเด็กได้ โดยเฉพาะกิจกรรม การทำนายเสียงเพื่อนำด็กเข้าสู่บทเรียน
  • การแต่งคำคล้องจองพื่อให้เด็กตื่นเต้นกับปริศนาคำทายกระตุ้นความคิดของเด็ก
classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
  • อุปกรณ์เทคโนโลยีพร้อมใช้งาน 
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
  • แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียน 
friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
  • ตั้งใจทำกิจกรรมในการทำนายเสียง   เล่นเกมกลุ่มเสียงกระซิบ และแต่งคำคล้องจอง 
Teacher-Assessment (ประเมินอาจารย์) 
  • มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ใช้เทคโนโลยีประกอบการสอนได้ดี ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ 


วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 5 Monday, October 5, 2558


Diary No. 5
Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood
Instructor trin jamthin
Monday, October 5, 2558
Time 08.30 - 12.30 .


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

  • การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
  • การเล่น คือ กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก
  • แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
*เพียเจต์ ได้ให้ข้นตอนการเรียนรู้ของเด็กดังนี้                   
1.ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส
  •  สำรวจวัตถุ
  •  ยุติลงเมื่อเด็กอายุ 2 ขวบ
2.ขั้นการเล่นสร้างสรรค์
  • 1ขวบครึ่ง-2ปี
  • การเล่นที่ไม่มีขอบเขต
  • เล่นด้วยความพอใจมากกว่าความเป็นจริง
3.ขั้นการใช้สัญลกษณ์
      -2 ขวบขึ้นไป
  • ปรเภทการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
1.การเล่นกลางแจ้ง
2.การเล่นในร่ม
            -การเล่นตามมุม
            -การเล่นสร้างสรรค์

*การเล่นในร่ม  จะทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์มากกว่าการเล่นกลางแจ้ง
  • องค์ประกอบการเล่นสร้างสรรค์
-สภาวะการเรียนรู้
-พัฒนาการของการรู้คิด
-กระบวนการเรียนรู้และการสอน
  • กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
  1. เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
  2. การเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
  3. การจำแนกอย่างมีเหตุผล
  • หลักกิจกรรมการเล่นสร้างสรรค์
  1. ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถ
  2. ศึกษาสภาพเเวดล้อมจัดเตรียมสื่อกิจกรรมให้เหมาะสม
  3. มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างเหมาะสม
*รูปแบบการสอน STEM >>>เน้นการคิดและการสร้าง
-S  วิทยาศาสตร์
-T   เทคโนโลยี
-E   วิศวะ
-M   คณิตศาสตร์

*กิจกรรม

1.กิจกรรมนักมายากลระดับโลก    ทายใจจากคำถามนักมายากลในเรื่องของการโกหก



2. กิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ ออกแบบและประดิษฐ์เรือให้สามารถบรรจุไข่พลาสติกให้ได้มากที่สุดโดย ไม่ให้เรือจมน้ำ 

อุปกรณ์ 
  1. กระดาษ
  2. ไม้เสียบลูกชิ้น  4 ไม้
  3. หนังยาง 4 เส้น
  4. ไข่พลาสติก (ใส่ดินน้ำมัน)


*บรรทุกได้  13 ฟอง


สรุป  กิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ  เป็นกิจกรรมที่เด็กต้องใช้การคาดคะเนต้องมีการวางแผนในการสร้างเรือ(ความคิดสร้างสรรค์)ว่าจะต้องทำฐานเรืออย่างไรเพื่อให้สามารถบรรจุไข่ให้ได้เยอะและนานเมื่อโดนน้ำ กิจกรรมนี้สามารถบูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไปเมื่อเด็กๆนับจำนวนไข่เด็กก็จะได้ความรู้คณิตศาสตร์ไปด้วย


3.กิจกรรมนักออกแบบอาคาร ออกแบบอาคารให้มีความสูงเท่าที่จะทำได้ โดยมีเงื่อนไขในแต่ละรอบดังนี้ 
   รอบที่  1 ห้ามปรึกษาพูดคุยกัน  
   รอบที่  2 ให้พูดได้เพียง 1 คน
   รอบที่  3  ปรึกษาพูดคุยกันได้
มีการบันทึกผลทุกรอบโดยใช้ไม้บรรทัดบันทึกผล
อุปกรณ์
  1. ดินน้ำมัน
  2. ไม้จิ้มฟัน
*การบันทึกผล
   รอบที่  1 ห้ามปรึกษาพูดคุยกัน   ทำได้ 19  เซนติเมตร
   รอบที่  2 ให้พูดได้เพียง 1 คน  ทำได้ 35  เซนติเมตร
   รอบที่  3  ปรึกษาพูดคุยกันได้  ทำได้  47 เซนติเมตร
*เกร็ดความรู้กิจกรรมนักออกแบบอาคาร
ขั้นนำ
-ร้องเพลง
 -ใช้คำถาม : เด็กๆเห็นอะไรบ้าง เด็กๆคิดว่าครูจะทำอะไร
ขั้นสอน 
-1.ครูบอกจะสร้างบ้าน : เด็กๆจะสร้างบ้านยังไง โดยใช้ดินน้ำมันกับไม้จิ้มฟัน   
-2.ครูทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
-3.แบ่งกลุ่ม
-4.อธิบาย
-5.แจกอุปกรณ์
*สร้างสถานการณ์ให้เด็กได้แก้ปัญหา

สรุป   กิจกรรมนักออกแบบอาคารเป็นกิจกรรมที่เน้นการคิดและการสร้าง (โดยใช้หลัก -S  วิทยาศาสตร์ -T   เทคโนโลยี   -E   วิศวะ  -M   คณิตศาสตร์ )  เด็กจะต้องคิดและออกแบบบ้านให้สูงโดยที่มีเงื่อนไข ต่างทำให้เด็กได้คิดพร้อมกับสร้างผลงานศิลปะไปพร้อมๆกัน
Skill (ทักษะที่ได้รับ) 
  • ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ 
  • การทำงานเป็นกลุ่ม 
Adoption( การนำไปใช้)
  • นำกิจกรรมไปใช้กับเด็กได้ โดยเฉพาะกิจกรรม ออกแบบและประดิษฐ์เรือให้สามารถบรรจุไข่ไม่ให้จมน้ำและออกแบบบ้านเพื่อให้เด็กได้แสดงความคิดสร้างสรรค์
classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
  • อุปกรณ์เทคโนโลยีพร้อมใช้งาน 
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
  • แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจออกแบบเรือ
friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
  • ตั้งใจทำกิจกรรมในการออกแบบเรือ
Teacher-Assessment (ประเมินอาจารย์) 
  • มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ใช้เทคโนโลยีประกอบการสอนได้ดี 
  • กระตุ้นให้นักศึกษาตื่นตัวโดยใช้กิจกรรมคำถามนักมายากลได้ดี